“ข้าว” กับ “ทะเลทราย” ดูเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง เพราะข้าวเป็นพืชที่ต้องใช้น้ำในการปลูกมาก ขณะที่ทะเลทรายเป็นพื้นที่แห้งแล้งกันดารน้ำ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าประเทศอิหร่านที่เราคุ้นเคยกันว่าเป็นประเทศทะเลทรายนั้น กลับเป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าวอย่างมากประเทศหนึ่ง

โดยมีข้อมูลว่าข้าวน่าจะมีการเผยแพร่มายังอิหร่านปัจจุบันในช่วงศตวรรษที่ 6-13 ผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย เพาะปลูกกันมากในพื้นที่ที่ติดทะเลแคสเปียนซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ และยังมีการเพาะปลูกมาจนถึงปัจจุบัน

ข้าวยังเคยเป็นอาหารชาววังในสมัยราชวงศ์ซาฟาวิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในอาหารอิหร่านไป (ธัญพืชหลักอีกชนิดหนึ่งคือข้าวสาลี)

สายพันธุ์ข้าวหลักของอิหร่าน ได้แก่ ข้าวทารอม (Tarom) กับข้าวซาดรี (Sadri) ซึ่งเป็นข้าวเมล็ดยาว รสชาติดี กลิ่นหอม และมีคุณค่าทางโภชนาการทั้งคู่ ปัจจุบันเรายังสามารถพบเมนูข้าวสไตล์เปอร์เซียและอิหร่านได้อยู่

และในทริป Iranian Road Trip: the Mountains and the Sea เราก็จะได้ผ่านนาข้าวและนาขั้นบันไดสไตล์อิหร่านด้วยนะครับ