… ผู้อ่านที่รักคงเคยได้ยินเรื่องราวของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองผ่านสื่อต่างๆ …อย่างไรก็ตามทุกท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า… ภายหลังจากสงครามยุติลง เกิดอะไรขึ้นกับผู้มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์เหล่านี้?

วันที่ 18 ตุลาคมนี้ถือเป็นวันครบรอบ 76 ปี จุดเริ่มต้นของการพิพากษาที่นูเรมเบิร์กในปี 1945 หรือการเริ่มขั้นตอนการนำผู้ต้องหาในคดีอาญชากรรมสงครามในสงครามโลกครั้งที่สองเข้ามาพิจารณาผ่านกระบวนการยุติธรรม

ครั้งนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรทำการส่งคำฟ้องนักการเมือง, นายทหาร, และผู้นำด้านอุตสาหกรรมจำนวน 24 คนซึ่งมีบทบาทระหว่างช่วงสงคราม เพื่อนำไปสู่การตัดสินโดยคณะผู้พิพากษาจาก 4 ประเทศผู้ชนะสงครามประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต, สหราชอาณาจักร, และฝรั่งเศส

โดยจำเลยทั้งหมดจะถูกตัดสินตามความผิด 4 ข้อกล่าวหาคือ

– อาชญากรรมต่อสันติภาพ = ผู้วางแผนทำการรุกราน, ทำสงคราม, หรือการกระทำใดๆที่ละเมิดข้อตกลงระหว่างรัฐ
– อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ = ผู้กระทำการสังหารพลเรือนเพื่อเหตุผลทางการเมือง, ศาสนา, หรือเชื้อชาติ
– อาชญากรรมสงคราม = ผู้ละเมิดสนธิสัญญาต่อเหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบต่อสงครามเช่นการสังหารเชลยศึก

– การมีส่วนรู้เห็นต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น = ผู้มีส่วนร่วมหรือสนับสนุนต่อการก่ออาญชากรรมทั้งสามรูปแบบ

โดยประเทศผู้ชนะอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยสามารถหาทนายมาว่าความให้ตนเองในชั้นศาลได้

ผลการตัดสินจากเอกสารทางการกว่า 1,400 กิโลกรัมและม้วนฟิล์มจำนวนมากได้ข้อสรุปว่า:

“จำเลยอาทิ จอมพล วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมัน, เฮอร์มาน เกอริ่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ, รวมถึงโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาซี ทั้งหมดถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทั้ง 4 ข้อกล่าวหา จึงถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคออย่างไม่มีเงื่อนไข

ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 7 รายต้องโทษจำคุกระหว่าง 10 ปี ถึงตลอดชีวิต ส่วนที่เหลือได้รับการตัดสินให้พ้นผิดหลังการถูกจองจำในเวลาไม่นาน (ซึ่งทั้งหมดที่รอดนั้นไม่ได้เป็นทหาร)”

สิ่งนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของคณะบุคคลระดับสูงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเยอรมนีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตามการตัดสิน ณ เมืองนูเรมเบิร์ก นั้นถือเป็นการพิพากษาความผิดของผู้ต้องหาในคดีอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพียงไม่กี่ครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว…

เพราะในโลกยุคปัจจุบันยังคงมีผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอีกมากมายที่ยังลอยนวล, รอการตัดสิน, หรือแม้แต่ยังเสวยสุขอยู่

แหล่งอ้างอิง:
www.ushmm.org/collections/bibliography/the-nuremberg-trials