คำว่า “อารยัน” เป็นคำที่พบในแนวคิดทางการเมืองของพวกสุดโต่งที่เชื่อว่านี่เป็นเผ่าพันธุ์ที่บริสุทธิ์และสูงส่ง ถืออยู่ในวรรณะสูงสุดสมควรได้ปกครองเผ่าพันธุ์อื่นๆ ในโลก

แต่หลายท่านที่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์คงพอรู้ว่าคำนี้มีความสัมพันธ์กับทางเอเชีย โดยเฉพาะโซนอินเดีย คำถามคือคำๆ นี้ไปโผล่ในความเชื่อของคนยุโรปได้อย่างไร? และ “ชาวอารยัน” มีอยู่จริงหรือไม่? เป็นใครกันแน่?

คำว่า “อารยัน” ไปปรากฏในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19 บอกว่าชาวอารยันเป็นคนผิวขาวที่บุกอินเดีย แล้วมาตั้งรกรากในอินเดียและอิหร่าน นอกจากนี้ยังมีความหมายถึงกลุ่มคนผู้พูดภาษาอินโด-ยูโรเปียนอันเป็นบรรพบุรุษของชาวยุโรปปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงว่าชาวอารยันจากเอเชียไปโผล่ในยุโรป

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักวิชาการไม่ได้มองคำว่า “อารยัน” เป็นเชื้อชาติแล้ว แต่มองเป็นคอนเซปต์ทางภาษาและวัฒนธรรมมากกว่า อย่างรากศัพท์ของคำนี้ก็มาจากคำว่า “อารยะ” (आर्य) ในภาษาสันสกฤต

…เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว “ชาวอารยัน” มีอยู่จริงหรือเปล่า?

หากดูตามหลักฐานจะพบว่าคำว่า “อารยัน” เป็นคำที่ชาวอินโด-อิหร่านและอินโด-อารยันใช้เรียกตัวเอง ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ใช่เชื้อชาติหรอกนะครับ แต่เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาเดียวกัน แปลว่าอาจเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมหรือไม่ก็ได้ และสองกลุ่มนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งเป็นตระกูลภาษาใหญ่ของโลก

อ่านถึงตรงนี้แล้วหลายท่านอาจจะอยากทราบว่าทำไมตระกูลภาษาอินเดียกับยุโรป (“อินโด-ยูโรเปียน”) จึงจัดมาอยู่รวมกันได้ ทั้งๆ ที่อยู่ห่างไกลกันมาก? คำตอบคือบรรพบุรุษของมนุษย์ก่อนที่จะมีการอพยพไปทุกสารทิศ

ส่วนต้นกำเนิดร่วมกันของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนนั้นคาดว่าอยู่ในทุ่งหญ้าพอนติก-แคสเปียน (บริเวณยูเครนและรัสเซียตะวันตกเฉียงใต้ปัจจุบัน) ราวๆ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. และมีสายหนึ่งที่ไปทางเอเชียกลาง ก่อนที่ในช่วง 2,000 ปีก่อน ค.ศ. จะมีการอพยพอีกรอบหนึ่งจนกลายมาเป็นตระกูลภาษาอินโด-อิหร่านและอินโด-อารยันอย่างในปัจจุบัน

บรรพบุรุษของตระกูลภาษาอินโด-อิหร่านและอินโด-อารยันเชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมซินทัชทา (2,200-1,900 ปีก่อน ค.ศ.) ที่อยู่ในคาซัคสถานและรัสเซีย และไล่เลี่ยกับวัฒนธรรมแอนโดรโนโว (2,000-1,150 ปีก่อน ค.ศ.) ที่ครอบคลุมพื้นที่เอเชียกลาง

…จึงอาจถือได้ว่า “เอเชียกลาง” เป็นต้นกำเนิดของสองตระกูลภาษานี้ที่ปัจจุบันไล่ตั้งแต่ตะวันออกกลางไปจนถึงอินเดียนั่นเอง! (สำหรับภาษาบาลีและสันสกฤตก็เป็นหนึ่งในภาษาอินโด-อารยัน จึงถือได้ว่าภาษาไทยก็ได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนไปด้วย)

📣 The Wild Chronicles ขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่าเรากำลังมีทัวร์ไปยังดินแดนต้นกำเนิดของภาษาหลักของเอเชียอย่างเอเชียกลาง ซึ่งมีอยู่ 4 ประเทศ ทั้งอุซเบกิสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถานและเติร์กเมนิสถาน สำหรับท่านที่สนใจติดต่อทาง inbox เพจ The Wild Chronicles หรือทุกช่องทางของเราได้เลยครับ ‼️

#TWCHistory #TWCCentralAsia