…ในช่วงฤดูฝนของ “ทิเบต” แมลงและสัตว์เล็กสัตว์น้อยจะออกมาเพ่นพ่านมากมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำเหล่าสัตว์ พระสงฆ์ทิเบต หรือ “พระลามะ” จึงทำการพำนักในวัดเพื่อนั่งสมาธิและเรียนพระคัมภีร์ระยะหนึ่ง เหมือนกับ “เข้าพรรษา”
จนเมื่อพระลามะกลับมาปฏิบัติศาสนกิจดั่งเดิมคล้ายกับการ “ออกพรรษา” ชาวทิเบตจะทำ “โยเกิร์ต” มาถวายลามะและเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริก จนกลายเป็น “เทศกาลชอตัน” (Shoton Festival) ซึ่งมีความหมายว่า “งานเลี้ยงโยเกิร์ต”
The Wild Chronicles ขอพาท่านไปพบบรรยากาศแห่ง “ศรัทธา” โดยการเข้าร่วมเทศกลางชอตันซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในนครลาซา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ทิเบตจะรวมแรงร่วมใจแบก “พระบฏ” ผืนผ้ารูปพระพุทธเจ้าขนาดมหึมาขึ้นเขาและคลี่ออกเพื่อรับแสงตะวัน พร้อมให้ผู้คนนับหมื่นจากทั่วสารทิศมาสักการะ
ทริปสุดพิเศษรอช้าไม่ได้! ออกเดินทางวันที่ 20-27 สิงหาคม 2025! เพราะ “ทิเบต” ดินแดนหลังคาโลกช่างเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของศาสนา วัฒนธรรม และธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ถือเป็นจุดหมายปลายทางที่ท่านควรได้ไปเยี่ยมเยือน
เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ทำไมต้องไป “ทิเบต”: เทศกาลชอตัน พุทธธรรมหลังคาโลก กับ The Wild Chronicles?

หากพูดถึงสถานที่ที่มีเสน่ห์และความลึกลับ “ทิเบต” คือหนึ่งในดินแดนที่นักเดินทางหลายคนใฝ่ฝันจะไปเยือน ไม่เพียงเพราะทัศนียภาพที่งดงาม แต่ยังเป็นเพราะวัฒนธรรม ศาสนา และเทศกาลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หาดูได้ยากในที่อื่นของโลก
เพราะในอดีต ทิเบตเป็นดินแดนที่มีความลึกลับเนื่องจากตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบต ซึ่งเป็นที่ราบที่สูงที่สุดในโลก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 4,000 เมตร จนได้รับฉายาว่า “หลังคาโลก” (Roof of The World) จึงทำให้การเข้าถึงยากลำบากและแยกตัวจากโลกภายนอกมาเป็นเวลานาน
วัฒนธรรมและประเพณีของทิเบตจึงมีการพัฒนาอย่างเป็นเอกลักษณ์และไม่ถูกกระทบจากอิทธิพลภายนอกมากนัก โดยแต่เดิม ชาวทิเบตนับถือศาสนา “เพิน” (Bon) ศาสนาพื้นเมือง แต่เมื่อศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามายังดินแดนทิเบต ผู้คนชาวทิเบตก็หันมานับถือศาสนาใหม่จนลึกซึ้งและแพร่หลาย จนมันไม่ได้เป็นเพียงศาสนาประจำชาติ แต่ยังเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวทิเบตมาอย่างยาวนาน

หากศาสนาพุทธของทิเบตไม่ได้เป็น “เถรวาท” หรือ “มหายาน” แต่เป็นแบบ “วัชรยาน” (Vajrayana) หรือที่เรียกว่า “ตันตระ” (Tantra) โดยมีนิกายสำคัญ 4 นิกาย ได้แก่ ณิงมา (Nyingma), กาจู (Kagyu), ศากยะ (Sakya) และเกลุก (Gelug)
อีกทั้งทิเบตยังเคยเป็นดินแดนศาสนาที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางจิตวิญญาณ คือ “ทาไลลามะ” ซึ่งสืบทอดตำแหน่งผ่านการกลับชาติมาเกิด จนทำให้ศาสนาพุทธในทิเบตเจริญรุ่งเรือง และแม้ว่าทิเบตจะถูกจีนเข้ามาปกครอง แต่ศาสนาพุทธในทิเบตก็ยังคงเข้มแข็งและเป็นเอกลักษณ์สำคัญของดินแดนแห่งนี้

โดยไฮไลท์ของการเดินทางครั้งนี้ คือ เทศกาลสุดยิ่งใหญ่ที่ชื่อว่า “เทศกาลชอตัน” (Shoton Festival) ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หลังจากที่พระทิเบต หรือ “พระลามะ” ทำการ “ออกพรรษา” เพราะในช่วงฤดูฝนของทิเบต เหล่าแมลงและสัตว์เล็กสัตว์น้อยจะออกมาเพ่นพ่านมากมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการดหยียบย่ำสรรพสัตว์ พระลามะจึงจะพำนักในวัดเป็นเวลานานถึง 15 วัน
และหลังจากกลับมาปฏิบัติศาสนกิจได้ดั่งเดิม ชาวทิเบตจะนำ “โยเกิร์ต” สดใหม่มาถวายพระลามะ แล้วเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกจนกลายเป็น “เทศกาลชอตัน” ซึ่งมีความหมายว่า “งานเลี้ยงโยเกิร์ต”

ในเทศกาลชอตัน ชาวทิเบตทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์จะร่วมแรงร่วมใจกัน “ทังก้า” ผืนผ้ารูปพระพุทธเจ้าขนาดมหึมาเพื่อขึ้นเขาด้วยแรงศรัทธา และคลี่ภาพออกมาเพื่อรับแสงตะวัน หลังจากนั้น ชาวทิเบตจะสังสรรค์กับครอบครัว และรับชมการแสดงพื้นเมือง

นอกจากนี้ การเดินทางของเรายังพาท่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ของทิเบตอย่าง “พระราชวังโปตาลา” (Potala Palace) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบต ซึ่งเคยเป็นที่ประทับฤดูหนาวขององค์ทะไลลามะตั้งแต่ปี 1649-1959 โดยชื่อ โปตาลา มาจากชื่อภูเขาโปตาลกะ วิมานของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
พระราชวังแห่งนี้เริ่มสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าซงแจ็นกัมโป (Songtsen Gampo) ในศตวรรษที่ 7 และได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยทะไลลามะที่ 5 ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบป้อมปราการหรือ ซอง (Dzong) ที่มีชื่อเสียงที่สุดในทิเบต และมีความงดงามจนได้รับการยกย่องเป็น “เพชรน้ำหนึ่งแห่งศิลปะสถาปัตยกรรมทิเบต” นอกจากนี้ โปตาลายังเป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 3,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยพระราชวังโปตาลาถือเป็นมรดโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1994

สักการะ “วัดโจคัง” (Jokhang Temple) วัดโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวทิเบต สถาปัตยกรรมของวัดเป็นการผสมผสานศิลปะอินเดีย จีนสมัยราชวงศ์ถัง และเนปาลเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ภายในวัดประดิษฐาน “พระโจโวศากยมุนี” พระพุทธรูปขนาดใหญ่สูงประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งชาวทิเบตเคารพนับถืออย่างสูงสุด โดยชาวทิเบตมักมาสวดมนต์และสักการะพระพุทธรูปด้วยการกราบแบบ “อัษฎางคประดิษฐ์” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวทิเบต อีกทั้งวัดโจคังถือเป็นมรดโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1994

พร้อมเดินทางไปยัง 3 วัดสำคัญของนิกายเกลุก ได้แก่ วัดเดรปรุง-วัดเซรา-และวัดเกนเดน ซึ่งนิกายเกลุกถือเป็นนิกายใหม่แต่ยิ่งใหญ่ เพราะข่านมองโกลในยุคนั้นนับถือพระลามะนิกายเกลุก และตั้งตำแหน่งให้ท่านเป็นไดไลลามะ ผู้นำสูงสุดทางศาสนา ซึ่งทำให้ดาไลลามะครองอำนาจเหนือดินแดนทิเบตไปด้วย

รับชมการแสดงพื้นเมือง “อาเช ลาโม” (Ache Lhamo) หรือ “อุปราการทิเบต” (Tibetan Opera) ซึ่งเนื้อหาของการแสดงส่วนใหญ่มักเป็นนิทานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ชีวิตของบุคคลสำคัญ และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของทิเบต ลาโมจึงถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการตกผลึกของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวทิเบตมาเป็นเวลานับพันปี จนถูกยกย่องให้เป็น “ฟอสซิลที่มีชีวิต” และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้โดยองค์กรยูเนสโกในปี 2009

แถมเรายังจะเดินทางไป “วัดชีพีมิลลุง” (Phyirmil Lung Nunnery) สำนักชีที่ใหญ่ที่สุดในทิเบต ซึ่งอยู่ใกล้นครลาซา โดยสำนักชีแห่งนี้มีความเงียบสงบและเป็นแหล่งรวมของสตรีผู้ปฏิบัติธรรมที่มุ่งมั่นในการศึกษาและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งท่านจะสามารถสังเกตการปฏิบัติธรรมของแม่ชีและเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีพุทธศาสนาแบบทิเบตได้อย่างลึกซึ้ง

พร้อมสักการะ “วัดซูร์ฟู” (Tsurphu Monastery)” วัดของ “การ์มาปะ” (Karmapa) ผู้นำของศาสนาพุทธทิเบต นิกายการ์จู (Kagyu) หรือนิกายหมวกดำ สายการ์มะ การ์จู (Karma Kagyu) โดยวัดแห่งนี้มีโบราณวัตถุหายากจำนวนมาก อีกทั้งที่นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ “ตุลกู” (Tulku) แนวคิดเรื่องการกลับชาติมาเกิดของพระลามะเพื่อสืบทอดอำนาจผู้นำสงฆ์ จนต่อมานิกายอื่นๆ ได้นำมาปรับใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนานิกายทิเบต

นอกจากนี้ ทิเบตยังมีธรรมชาติที่สวยงามอย่างเช่น “ทะเลสาบนัมโซ” (Namtso Lake) ทะเลสาบน้ำเค็มที่อยู่สูงที่สุดในโลกด้วยความสูง 4,718 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยชื่อของทะเลสาบแห่งนี้มีความหมายในภาษาทิเบตว่า “ทะเลสาบสวรรค์” เพราะลำน้ำที่ใสสะอาดได้ส่องประกาย ทำให้สวยงามราวกับสรวงสรรค์
ทะเลสาบแห่งนี้ถือเป็น 1 ในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของทิเบต เพราะรอบๆ ทะเลสาบมีกอง “มณี” ก้อนหินทรงต่างๆ ที่ชาวทิเบตชอบนำมาซ้อนกันเพื่อบูชาวางอยู่เต็มไปหมด จนทำให้ทะเลสาบแห่งนี้มีกลิ่นอายแห่งศาสนาที่หนาแน่น

สุดท้ายนี้ เราขอฝากทัวร์ “ทิเบต: เทศกาลชอตัน พุทธธรรมหลังคาโลก” ด้วยนะครับ โดยการเดินทางครั้งนี้เป็นเส้นทางพิเศษที่ตั้งใจพาท่านไปสัมผัสดินแดนทิเบตอย่างลึกซึ้งผ่านงานเทศกาลอันยิ่งใหญ่และเที่ยวชมสถานที่สำคัญของทิเบต
อย่าพลาด! ทริปใหม่สุดพิเศษแบบนี้! เดินทางวันที่ 20-27 สิงหาคม 2025 โดยทริปนี้เดินทางร่วมกับ “คุณปั๊บ” เจ้าของเพจ The Wild Chronicles ซึ่งจะพาท่านไปกับพบความรู้ที่แปลกใหม่ ในสถานที่ที่ซ่อน “ความไม่ธรรมดา” เอาไว้มากมาย

รับประสบการณ์ที่แตกต่าง และสัมผัสบรรยากาศแบบใหม่ที่อาจไม่เคยลิ้มลอง หากท่านใดสนใจขอโปรแกรม สามารถติดต่อได้ทาง หมายเลข 082-894-8444, 089-927-6446 หรือแอด LINE OA ได้ที่ @thewildchronicles (พิมพ์ @ ด้านหน้า) และพิมพ์ว่า “สนใจทัวร์ทิเบต” ได้เลยนะครับ หรือกดปุ่ม “จองทัวร์” ได้เลยครับ
0 Comment