นี่เป็นทริปสุดพิเศษที่ตั้งใจพาท่านเข้าใจ “พุทธ-ฮินดู” ยุคแรกของอุษาคเนย์ กับ “อาจารย์ชาลี” สุระชาติ สวนทรัพย์ มัคคุเทศก์ชั้นครูผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่จะบอกเล่าเรื่องราว “รากเหง้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งถูกพูดถึงน้อย แต่ควรค่าแก่การเดินทางเพื่อไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง

เพราะในอดีต เกาะชวาถือเป็นดินแดนจุดหมายทางการค้าของอินเดีย ทำให้มีการนำวัฒนธรรมอินเดียเข้าสู่พื้นที่ จนกลายเป็นรากฐานอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้ปัจจุบัน ชวาจะเป็นส่วนหนึ่งของ “อินโดนีเซีย” ประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ที่นี่ก็ยังคงมีร่องรอยของ “พุทธ-ฮินดู” อย่างเด่นชัด โดยเฉพาะเมือง “ยอกยาการ์ตา”

ปี 2025 The Wild Chronicles ขอพาท่านเดินทางไป “อินโดนีเซีย” เพื่อไปสัมผัส “พุทธ-ฮินดู” ยุคแรกของอุษาคเนย์ พร้อมเรื่องราวมากมายให้ท่านแสวงหา ซึ่งจะทำให้ท่านได้เข้าใจถึงความเป็นพุทธ-ฮินดูในไทยได้ถึงแก่นแท้ ออกเดินทางวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2025!

เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่าครับว่า ทำไมต้องไป “อินโดนีเซีย” Indonesia: The Lost Roots กับ The Wild Chronicles

ทัวร์อินโดนีเซียของเรามาในธีม “The Lost Roots” หรือ “รากเหง้าที่สูญหาย” เนื่องจากดินแดนแห่งนี้ถือเป็นพื้นที่แรกๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามา จนกลายเป็นวัฒนธรรมหลักในเอเชียอาคเนย์ แต่ถูกพูดถึงน้อยนักในไทย

โดยไทยเรานั้นเปรียบเสมือน “รากวัฒนธรรม” หนึ่งที่แตกแขนงออกมาจากรากวัฒนะรรมต่างๆ ที่ผสมปนเปกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเรา จนบางครั้ง เราอาจไม่ได้สนใจถึงต้นทางของมัน ว่าสามารถสืบย้อนได้ยาวไกลยิ่งกว่าที่เรานึกคิด…

แม้ปัจจุบัน อินโดนีเซียจะเป็นดินแดนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งด้านพื้นที่และประชากร แต่ที่นี่ก็ยังคงมีร่องรอยของ “พุทธ-ฮินดู” อย่างเด่นชัด เพราะยังพบโบราณสถานมากมายที่บ่งบอกว่าที่นี่เคยเป็นอาณาจักรหมู่เกาะแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธมาก่อน ซึ่งชาวอินโดนีเซียต่างรู้สึกภาคภูมิใจและเชิดชูในฐานะหลักฐานที่แสดงความยิ่งใหญ่ของตนเอง นอกจากนั้น ทั่วโลกยังเห็นคุณค่าในฐานะอัตลักษณ์ที่ล้ำค่า ดังจะเห็นได้จาก UNESCO มาให้รางวัลเป็นมรดกโลก

ความเชื่อดั้งเดิมหรือศาสนาพุทธและฮินดูที่ดำรงอยู่มาก่อนอิสลามมีการผสมผสานปรับให้เข้ากันและอยู่ร่วมกันได้ เช่น ชื่อของคนอินโดนีเซียบางส่วนก็มีที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย ซึ่งชื่อมาจากภาษาสันสกฤต คือ “สุ” (แปลว่า ดี) + “กรรณะ” (ยอดนักรบในมหาภารตะ) เป็นต้น

หรือ ความนิยมชมชอบวรรณคดีเรื่องรามายณะและมหาภารตะของชาวอินโดนีเซีย ที่เรียกได้ว่าคลั่งไคล้กันแบบสุดๆ เห็นได้จากการเล่นเรื่องราววรรณคดีเหล่านี้ใน “วายังกุลิต” (Wayang Kulit) หรือการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหนังตะลุงของไทย

นี่จึงเป็นทริปสุดพิเศษที่ตั้งใจพาท่านเข้าใจ “พุทธ-ฮินดู” ยุคแรกของอุษาคเนย์ กับ “อาจารย์ชาลี” สุระชาติ สวนทรัพย์ มัคคุเทศก์ชั้นครูผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ซึ่งจะบอกเล่าเรื่องราว “รากเหง้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ถูกพูดถึงน้อย แต่ควรค่าแก่การเดินทางเพื่อไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง จนทำให้ท่านได้เข้าใจถึงความเป็นพุทธ-ฮินดูในไทยถึงแก่นแท้ ผ่านมรดกโลกทั้งสองแห่งของอินโดนีเซีย

สถานที่แรก “บุโรพุทโธ” พุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 750-850 โดย “ราชวงศ์ไศเลนทร์” ซึ่งขึ้นมามีอำนาจในชวากลางประมาณกลางศตวรรษที่ 8

ต่อมาราชวงศ์ไศเลนทร์กลายเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรศรีวิชัย มหาอำนาจทางการค้ายุคแรกของอุษาคเนย์ ผ่านการแต่งงานกับฝั่งสุมาตรา ทำให้ราชวงศ์ไศเลนทร์มีอิทธิพลครอบคลุมคาบสมุทรมลายู ชวา สุมาตรา และภาคใต้ของไทย

ซึ่ง “บุโรพุทโธ” ได้บอกเล่าเรื่องที่แสดงถึงชีวิตของพระพุทธเจ้า และข้อความทางพุทธศาสนามากมาย จนทำให้เราได้ใกล้กับความศรัทธาของคนโบราณในยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรือง

สถานที่ที่สอง คือ “ปรัมบานัน” มหาเทวาลัยฮินดูอันยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างโดย “ราชวงศ์สัญชัย” กษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรมะธะรัม ตนอนกลางของเกาะชวา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 8 โดยราชวงศ์นี้อุปถัมภ์ศาสนาฮินดู และสามารถขึ้นมามีอำนาจในเกาะชวาแทนราชวงศ์ไศเลนทร์ได้ (ส่วนราชวงศ์ไศเลนทร์ขึ้นไปปกครองศรีวิชัยบนเกาะสุมาตราแทน)

เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่และเทียบเคียงราชวงศ์ไศเลนทร์ที่สร้าง ราชวงศ์สัญชัยจึงได้สร้าง “ปรัมบานัน” มหาเทวาลัยซึ่งอุทิศแก่ตรีมูรติ คือ พระเจ้าสูงสุด 3 องค์ ได้แก่ พระพรหม (ผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้รักษา) พระศิวะ (ผู้ทำลาย) จนกลายเป็นกลุ่มวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทียบได้กับบุโรพุทโธที่สร้างโดยราชวงศ์ไศเลนทร์

ไม่เพียงเท่านั้น เรายังจะได้ไป “จันทิเซวู” (Candi Sewu) หมู่จันทิ (หรือวัด) พุทธมหายานอันเก่าแก่ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ปรัมบานัน และเป็นพุทธสถานที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอินโดนีเซีย รองจากบุโรพุทโธ โดยภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญไว้อีกด้วย

อีกทั้งในภาษาชวา “เซวู” ยังมีความหมายว่า “หนึ่งพัน” ตามจำนวนจันทิที่สร้างขึ้นบริเวณพื้นที่ประมาณ 30,525 ตารางเมตร และมีตำนานพื้นเมืองเรื่อง “โรโร จงกรัง” (Roro Jonggrang) เล่าว่า โรโร จงกรัง พระธิดาของกษัตริย์โบโก ต้องไปแต่งงานกับเจ้าชายบันดุง ศัตรูอีกอาณาจักรที่สังหารพระบิดาของพระนาง โรโร จงกรังจึงตั้งเงื่อนไขข้อหนึ่งกับบันดุงว่า เขาต้องสร้างจันทิ 1,000 แห่งให้เธอภายในคืนเดียว ทางบันดุงรับปาก เพราะเขาสามารถเรียกเหล่ายักษ์มาช่วยสร้างวัดได้

จนเมื่อบันดุงและเหล่ายักษ์สร้างจันทิเสร็จไปแล้ว 999 แห่ง ทางโลโร จงกรังทีไม่อยากแต่งงานกับบันดุงจึงออกอุบาย สั่งให้สาวใช้ในวังตำข้าวจนเสียงดังและบ่าวชายเผาฟืนจนทำให้ไก่ตื่นและขันออกมา เหล่ายักษ์ที่ได้ยินเสียงไก่ขันจึงเข้าใจว่าเป็นเวลาเช้าแล้วจึงหนีหายไป และทำให้บันดุงสร้างวจันทิ 1,000 แห่ง ไม่สำเร็จ ตัวบันดุงแค้นมากเมื่อรู้ว่าเป็นแผนการของโรโร จงกรัง จึงสาปให้พระนางกลายเป็นรูปปั้นพระแม่ทุรคา ณ ปรัมบานัน ส่วนจันทิที่เจ้าชายบันดุงสร้างขึ้นก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 1 แห่งจนครบ 1,000 จันทิ และทั้งหมดรวมกันกลายเป็นหมู่จันทิเซวูนั่นเอง

หลังจากนั้น เราจะเดินทางไป “ยอกยาการ์ตา” จังหวัดเดียวของอินโดนีเซียที่ปกครองโดยสุลต่าน ซึ่งจุดที่น่าสนใจ คือ แม้สุลต่านจะนับถือศาสนาอิสลาม แต่พวกเขายังคงถือจารีตฮินดูอยู่ เห็นได้จาก ในช่วงสถาปนายอกยาการ์ตา สุลต่านได้ตั้งชื่อเมืองของตนเองว่า “อโยธยา” ตามบ้านเกิดของพระรามในมหากาพย์รามายณะ แต่ภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นแบบปัจจุบัน แต่ยังคงมีเค้าโครงจากชื่อเมืองเดิมอยู่

หรือเมื่อมีการสร้าง “วังสุลต่านแห่งยอกยาการ์ตา” (Sultan’s Palace of Yogyakarta) สุลต่านยอกยาการ์ตาไก้สร้างพระราชวังแห่งนี้ตามคติฮินดู โดยสมมติว่าพระราชวังเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล และมีประตูทั้งหมด 9 บาน โดยเชื่อว่าประตูเหล่านี้สื่อถึงทวารทั้ง 9 ของมนุษย์

ปัจจุบัน ที่นี่เป็นที่พำนักของสุลต่าน และเป็นสถานที่สำหรับศึกษาประวัติศาสตร์ ประเพณี และยังคงใช้เป็นที่พำนักของสุลต่านและใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมที่สำคัญเสมอ

แถมเรายังจะได้ไปเที่ยวชมและช็อปปิ้ง มาลิโอโบโร (Malioboro Street) ถนนคนเดินสุดคึกคักในยอกยาการ์ตา บนถนนสายนี้จะพบร้านค้าเล็กๆ และแผงลอยที่ขายสินค้าพื้นเมือง ทั้งผ้าบาติก ของที่ระลึก และงานฝีมือต่าง ๆ สะท้อนวัฒนธรรมชาวชวาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีอาหารท้องถิ่นให้เลือกซื้อลองชิม ไม่ว่าจะเป็นของว่างพื้นบ้านหรือเมนูจานหลักรสชาติอร่อย และถ้าชอบบรรยากาศแบบย้อนยุคก็จะได้เห็นรถสามล้อกับรถม้าสไตล์ดั้งเดิมที่ยังใช้เดินทางในย่านนี้

นอกจากนี้ ท่านยังจะมีโอกาสเดินทางไป “ภูเขาเปนันจากัน” (Mount Penanjakan) หนึ่งในจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงของอินโดนีเซีย โดยภูเขาแห่งนี้มีความสูงกว่า 2,770 เมตร และเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักเดินทางไปเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น และหากไปถึงก่อนฟ้าสาง อาจได้เห็นทางช้างเผือกและหมู่ดาวระยิบระยับเต็มท้องฟ้า

พร้อมสัมผัสความยิ่งใหญ่ของ “ภูเขาไฟโบรโม” (Mount Bromo) ภูเขาไฟที่มีความสูง 2,392 เมตร ซึ่งชื่อตั้งตาม “พระพรหม” หนึ่งในเทพสูงสุดของศาสนาฮินดู ที่นี่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ต้องมาเยือนให้ได้เมื่อมาถึงอินโดนีเซีย

กิจกรรมไฮไลต์ที่พลาดไม่ได้ คือ การเดินทางไปชมปล่องภูเขาไฟ ซึ่งภาพวิวที่ปากปล่องเป็นสิ่งที่หลายคนบอกว่าคุ้มค่ากับความเหนื่อย ทั้งความกว้างใหญ่ของปล่องภูเขาไฟและวิวรอบๆ ที่ดูสวยงามไม่เหมือนที่ไหนจริงๆ

สัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตของ “ชาวเต็งเกรอ” (Tenggerese) ณ “หมู่บ้านชนเผ่าเต็งเกรอ” (Tengger Tribe Village) ซึ่งพวกเขาเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ย่อยของชาวชวาซึ่งสืบเชื้อสายจากสมัยอาณาจักรมัชปาหิต ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 500,000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูแบบชวา ผสมกับความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณบรรพบุรุษ

อีกทั้งวิถีชีวิตของชาวเต็งเกรอ ยังคงมีความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม โดยส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ ทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าในช่วงหลัง บางส่วนของชาวเต็งเกรอจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม แต่วัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกเขายังคงได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

อีกทั้ง ท่านยังจะได้เยี่ยมชม “น้ำตกมาดาคารีปุระ” (Madakaripura Waterfall) น้ำตกในหุบเขาลึก ซึ่งมีน้ำหลายสายตกมาจากภูเขาสูงกว่า 200 เมตร ไหลลงสู่แม่น้ำเล็กๆ ด้านล่าง อีกทั้งบรรยากาศรอบๆ ยังเต็มไปด้วยป่าดิบชื้นเขียวขจี รวมถึงธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ราวกับเป็นดินแดนมหัศจรรย์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งสายน้ำของชวาตะวันออก”

สุดท้ายนี้ เราขอฝากทัวร์ Indonesia: The Lost Roots ด้วยนะครับ โดยการเดินทางครั้งนี้เป็นเส้นทางพิเศษที่ตั้งใจพาท่านไปเข้าใจ “รากเหง้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งถูกพูดถึงน้อย แต่ควรค่าแก่การเดินทางไปถึง และเพิ่มเติมด้วยการไปชื่นชมวิวธรรมชาติที่สวยงาม

อย่าพลาด! ทริปใหม่สุดพิเศษที่ได้ทั้งประวัติศาสตร์และธรรมชาติแบบนี้! เดินทางวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2025 โดยทริปนี้เดินทางร่วมกับ “อาจารย์ชาลี” สุระชาติ สวนทรัพย์ มัคคุเทศก์ชั้นครูผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และ “คุณปั๊บ” เจ้าของเพจ The Wild Chronicles ซึ่งจะพาท่านไปกับพบความรู้ที่แปลกใหม่ ในสถานที่ที่ซ่อน “ความไม่ธรรมดา” เอาไว้มากมาย

รับประสบการณ์ที่แตกต่าง และสัมผัสบรรยากาศแบบใหม่ที่อาจไม่เคยลิ้มลอง หากท่านใดสนใจขอโปรแกรม สามารถติดต่อได้ทาง หมายเลข 082-894-8444, 089-927-6446 หรือแอด LINE OA ได้ที่ @thewildchronicles (พิมพ์ @ ด้านหน้า) และพิมพ์ว่า “สนใจทัวร์อินโดนีเซีย” ได้เลยนะครับ หรือกดปุ่ม “จองทัวร์” ได้เลยครับ