📢 ตอนนี้ The Wild Chronicles มีกิจกรรมสัมมนาพิเศษเล่าเรื่อง “คาตาโลเนีย-อ็อกซิตาเนีย” 🔴🟡 ยุโรปที่ไม่อยู่บนแผนที่ 🌍เรื่องราวของชนชาติที่ถูกลืม ซึ่งมีทั้งศิลปะ ภาษา ประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งศาสนาของตนเอง หากมีการกล่าวถึงน้อย โดย “อ.ภากร มังกรพันธุ์” นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสต์ศิลปะตะวันตก และ “คุณปั๊บ พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์” นักเขียนงานสารคดีชุด The Wild Chronicles
งานจัดวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2025 เวลา 09.30 – 16.30 น. ณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา อาคารเวฟเพลส ชั้น 8 ห้อง L805 (อาคารเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า BTS เพลินจิต ทางออก 5)
🪙ราคาเพียง 990 บาท/ท่าน (มีอาหารว่างให้ช่วงสาย-บ่าย)
ว่าแต่ สงสัยกันไหมว่าทำไมคุณปั๊บ และ อ. ภากร ถึงเลือกหัวข้อนี้มาสัมมนา? ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่า ว่าทำไม?..คุณควรต้องไปงานสัมมนาครั้งนี้

เมื่อเอ่ยถึงยุโรป หลายคนนึกถึงมหาอำนาจทางประวัติศาสตร์อย่างฝรั่งเศส สเปน หรือเยอรมนี แต่มีดินแดนสองแห่งที่แม้จะไม่มีรัฐเป็นของตัวเอง แต่กลับมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา และประวัติศาสตร์อันยาวนาน นั่นคือ “อ็อกซิตาเนีย” (Occitania) และ คาตาโลเนีย (Catalonia)
ดินแดนทั้งสองเป็นดินแดนที่มีการใช้ภาษาโรแมนซ์สายหนึ่งที่เรียกว่า “อ็อกซิตาโน-โรมานซ์” (Occitano-Romance) ซึ่งในยุคกลาง ดินแดนทั้งสองถือเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะและวรรณกรรม ทว่ากลับถูกบดบังและถูกลืมเลือนจากหน้าประวัติศาสตร์กระแสหลัก

***อ็อกซิตาเนีย: ดินแดนแห่งกวียุคกลางและวรรณกรรมรักเทิดทูน***
“อ็อกซิตาเนีย” (Occitania) หรือ “อ็อกซีตานี” (Occitanie) ดินแดนทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่มีภาษาของตนเอง คือ อ็อกซิตัน (Occitan) ซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาคาตาลัน และแตกต่างจากภาษาฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ทำให้ในอดีต พื้นที่แห่งนี้ดูห่างไกลจากศูนย์กลางและมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

ในยุคกลาง ดินแดนนี้เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม โดยเหล่า “ทรูบาดูร์” (Troubadours) ซึ่งเป็นกวีขับร้องที่แต่งกลอนรักและสดุดีแนวคิดของ “ความรักเทิดทูน” (Courtly love/Fin’amor) แนวคิดของความรักที่สูงส่งระหว่างอัศวินกับสตรีสูงศักดิ์ ซึ่งเต็มเปี่ยมด้วยความภักดี การยกย่องคู่รัก และการเสียสละ ซึ่งแนวคิดนี้ทรงอิทธิพลต่อวรรณกรรมโรแมนติกทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน

ดินแดนแห่งนี้ยังเคยมี “ลัทธิคาธาร์” (Catharism) ขบวนการทางศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งลัทธินี้มีความเชื่อแบบทวินิยม (Dualism) ซึ่งมองว่าโลกวัตถุเป็นสิ่งชั่วร้ายที่สร้างโดยพระเจ้าด้านมืด ขณะที่โลกแห่งจิตวิญญาณเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ต้องหลุดพ้น ชาวคาธาร์จึงปฏิเสธอำนาจของศาสนจักรที่เต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยและอำนาจทางโลก
หากความเชื่อดังกล่าวถูกศาสนาจักรมองว่าเป็นพวกนอกรีต ทำให้ในปี 1209 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 (Pope Innocent III) ทรงประกาศสงครามครูเสดอัลบิเจนเซียน (Albigensian Crusade) เพื่อกำจัดลัทธิคาธาร์ ซึ่งกองทัพคาทอลิกได้ทำสงครามกับขุนนางอ็อกซิตาเนียและชาวคาธาร์เป็นเวลาหลายทศวรรษ

สงครามครั้งนี้เต็มไปด้วยความโหดร้าย เมืองต่างๆ ของชาวอ็อกซิตันถูกเผาทำลาย ประชากรชาวคาธาร์ถูกสังหารหมู่ โดยสงครามยุติลงในปี 1229 เมื่อเคานต์แห่งตูลูซถูกบังคับให้ยอมจำนน ดินแดนอ็อกซิตาเนียจึงสูญเสียเอกราชและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส หลังจากนั้นเป็นต้นมา วัฒนธรรมและภาษาของชาวอ็อกซิตันก็ถูกกดขี่โดยส่วนกลางของฝรั่งเศสตั้งแต่ยุคราชวงศ์จนถึงยุคสาธารณรัฐที่ 5 ทำให้ในปัจจุบัน ภาษาอ็อกซิตันกลายเป็นภาษากำลังสูญหายที่พูดโดยประชากรเพียงไม่กี่แสนคน

***คาตาโลเนีย: ดินแดนแห่งสถาปัตยกรรม ศิลปะ และฟุตบอล***
ส่วนคาตาโลเนีย หรือ คาตาลุญญ่า ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสเปน อันมีเมืองหลวงคือ บาร์เซโลนา ก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันกับอ็อกซิตาเนีย โดยดินแดนนี้มีภาษาของตนเองคือ “คาตาลัน” (Catalan) ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอ็อกซิตัน ซึ่งคาตาโลเนียเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรในยุคราชอาณาจักรอารากอน
หากในศตวรรษที่ 18 คาตาโลเนียถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสเปนอย่างสมบูรณ์ แม้จะมีการพยายามแยกตัวเป็นเอกราชหลายครั้งก็ตาม

ขบวนการเอกราชของคาตาโลเนียซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ได้รับแรงกระตุ้นสำคัญจากสงครามกลางเมืองสเปน (1936-1939) โดยชาวคาตาลันเข้าร่วมกับฝ่ายสาธารณรัฐ ซึ่ง “จอร์จ ออร์เวลล์” (George Orwell) ผู้เขียน Animal Farm และ 1984 ได้เขียนบันทึกใน “Homage to Catalonia” และ “เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์” (Ernest Hemingway) นักเขียนรางวัลโนเบลก็เคยเดินทางมาสเปนเพื่อรายงานข่าวสงครามและเขียนถึงการต่อสู้ของชาวคาตาลัน
แม้ว่าสงครามกลางเมืองสเปนจะจบลงด้วยชัยชนะของนายพลฟรังโก้ และเผด็จการทหารมีความพยายามลบล้างอัตลักษณ์ของชาวคาตาลันอย่างรุนแรง แต่ขบวนการเอกราชของคาตาโลเนียยังคงดำเนินต่อไป จนในภายหลังจากยุคฟรังโก้ ชาวคาตาลันก็มีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่มันก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้ยังคงมีขบวนการเอกราช และถูกปราบปรามอย่างหนักจากรัฐบาลสเปน

กระนั้น เอกลักษณ์ของชาวคาตาลันก็ยังคงแข็งแกร่งทั้งในศิลปะ การเมือง และกีฬา เช่น ซัลบาดอร์ ดาลี (Salvador Dalí) ศิลปินชาวคาตาลัน ผู้มีอิทธิพลในวงการศิลปะแบบลัทธิเหนือจริง หรือ เซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ซึ่งผลงานของเขาแสดงให้เห็นถึงความหลงใหลในความฝัน จิตใต้สำนึก และจินตนาการอันไร้ขอบเขต โดยดาลีได้หลอมรวมอิทธิพลของศิลปะยุคกลางของอ็อกซิตาเนียและคาตาโลเนียให้เข้ากับความทันสมัยของศิลปะแห่งศตวรรษที่ 20 ได้อย่างลงตัว

“อันโตนิโอ เกาดี้” (Antoni Gaudí) สถาปนิกผู้สร้างสรรค์สไตล์ “อาร์ตนูโว” (Art nouveau) ซึ่งได้สร้างผลงานสถาปัตยกรรมระดับโลกอย่าง “ซากราดาฟามิลิอา” (Sagrada Família) โดยโบสถ์หลังนี้เริ่มสร้างในปี 1882 และปัจจุบันก็ยังสร้างไม่เสร็จ จึงทำให้ผลงานของเกาดี้กลายเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่เป็นงานศิลปะเฉพาะถิ่นและเป็นนวศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคาตาโลเนีย

รวมไปถึง “สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา” (FC Barcelona) สโมสรฟุตบอลอันเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเผด็จการและการต่อสู้เพื่อเอกราชของคาตาโลเนีย โดยในยุคฟรังโก้ สโมสรบาร์เซโลนาถูกกดขี่ข่มเหง แต่บาร์เซโลนายังคงสามารถเป็นศูนย์กลางของอัตลักษณ์คาตาลันได้ผ่านคำขวัญ “Més que un club” (มากกว่าสโมสร) เพื่อทำให้ฟุตบอลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของชาวคาตาลัน จนสโมสรฟุตบอลแห่งนี้กลายเป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่ในเวทีโลกลูกหนัง

แม้ทั้ง “อ็อกซิตาเนีย” และ “คาตาโลเนีย” จะไม่ได้ปรากฏบนแผนที่ในฐานะประเทศอิสระ แต่พวกเขายังคงมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง ทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปะ และการเมือง ซึ่งได้สร้างอิทธิพลสำคัญต่อยุโรป แม้จะถูกอำนาจรัฐพยายามกลืนกินแต่ดินแดนเหล่านี้ยังคงยืนหยัด และการต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์ของพวกเขายังคงดำเนินต่อไป

สุดท้ายนี้ เราขอฝากทุกท่านให้รู้ว่า ตอนนี้ The Wild Chronicles มีกิจกรรมสัมมนาพิเศษเล่าเรื่อง “คาตาโลเนีย-อ็อกซิตาเนีย 🔴🟡 ยุโรปที่ไม่อยู่บนแผนที่ 🌍” เรื่องราวของชนชาติที่ถูกลืม ซึ่งมีทั้งศิลปะ ภาษา ประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งศาสนาของตนเอง หากมีการกล่าวถึงน้อย โดย “อ.ภากร มังกรพันธุ์” นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสต์ศิลปะตะวันตก และ “คุณปั๊บ พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์” นักเขียนงานสารคดีชุด The Wild Chronicles

🗣️ประวัติวิทยากร🗣️
🎨อ.ภากร มังกรพันธุ์
นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ซึ่งเปิดคอร์สสอนประวัติศาสตร์ อารยธรรมตะวันตก และศิลปะตะวันตก พร้อมนำชมบรรยายงานศิลปะยุโรปแก่คนที่สนใจศิลปะ
วิทยากรหลักอบรมเจ้าหน้าที่ บุคคลากร ผู้บริหารขององค์ในเครือสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย
วิทยากรประจำรายการ “Journey with Arts” โดยนิ้วกลม
นักวิจัยและนำชมอาคารโคโลเนี่ยล (Colonial Style) ในประเทศไทย
อาจารย์ผู้สอนอารยธรรมตะวันตก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาจารย์พิเศษสอนเรื่อง อารยธรรมตะวันตก (Western Civilization) ม.พิษณุโลก
🏛️คุณพงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์
เจ้าของเพจ The Wild Chronicles – ประวัติศาสตร์ ข่าวต่างประเทศ ท่องเที่ยวที่แปลก
ผู้เขียนงานสารคดีชุด The Wild Chronicles ซึ่งพูดถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ และการท่องเที่ยวไปในสถานที่แปลกๆ ทั่วโลก
วิทยากรบรรยาย วิชา Culture and Politics คณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ BALAC จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อประวัติศาสตร์ชาวทมิฬ และประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด
วิทยากรบรรยาย วิชา Atrocity Prevention Through Education คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อประวัติศาสตร์ชาวยิว และดินแดนอิสราเอล
วิทยากรรายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ท่องเที่ยว และ และศาสนา:
รายการ History Corgi ของ BrandThink
รายการ Way of Being Wild ของ The Momentum
รายการ Beyond Chronicle ของ Thai PBS

งานจัดวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2025 เวลา 10.00 – 16.30 น. ณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา อาคารเวฟเพลส ชั้น 8 ห้อง L805 (อาคารเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า BTS เพลินจิต ทางออก 5)
🪙ราคาเพียง 990 บาท/ท่าน (มีอาหารว่างให้ช่วงสาย-บ่าย)
📚 หากท่านใดสนใจ สามารถลงทะเบียนภายในวันที่ 14 มีนาคม 2025 เพื่อสำรองที่นั่ง….
💺ที่นั่งมีจำนวนจำกัด
หรือสามารถติดต่อได้ทาง inbox หรือแอด LINE OA ได้ที่ @thewildchronicles (พิมพ์ @ ด้านหน้า) และพิมพ์ว่า “สนใจสัมมนา” ได้เลยนะครับ
#TWCSeminar #TWCHistory #TWCSpain #TWCFrance #TWCCatalan #TWCOCcitan
0 Comment