
“ลาดักห์” ดินแดนทางตอนเหนือสุดของอินเดีย ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขาคาราโครัม-หิมาลัย และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ทำให้ที่นี่เป็นดินแดนที่มีธรรมชาติอันสวยงามวิจิตร และมีชัยภูมิที่ดี จากการเป็นศูนย์กลางของเส้นทางสายไหมสาขาย่อย ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างอินเดีย จีน ทิเบต และเอเชียกลาง
อีกทั้งที่นี่ยังมีเรื่องราวประวัติศาสตร์อันซับซ้อน เพราะในอดีต ลาดักห์ประกอบไปด้วยอาณาจักรน้อยใหญ่มากมายซึ่งเข้ามาปกครองที่นี่ ซึ่งผู้ปกครองชาวทิเบต, มุสลิม, และซิกข์ ต่างเข้ามาต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกันจนทำให้ที่นี่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและศาสนา และกลายเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมลาดักห์

กระทั่งในยุคอาณานิคม อาณาจักรลาดักห์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชาแห่งแคชเมียร์ แต่เมื่อแคชเมียร์ได้ไปลงนามเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ทางปากีสถานก็ไม่ยอมรับ ทั้งสองชาติจึงได้ทำสงครามห่ำหันกันเพื่อแย่งชิงดินแดนแคชเมียร์
ลาดักห์กลายเป็นสมรภูมิเดือดระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน ซึ่งอินเดียยังคงสามารถปกป้องลาดักห์และยึดครองดินแดนบางส่วนของปากีสถานมาได้ แต่เมื่อจีนสามารถยึดครองทิเบตได้สำเร็จ ก็อาศัยข้ออ้างทางประวัติศาสตร์ในการยึดครองลาดักห์ ทำให้ลาดักห์กลายเป็นสมรภูมิสำคัญระหว่าง 3 ประเทศ

แม้ลาดักห์จะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง แต่พื้นที่แห่งนี้ก็เป็นหนึ่งในภาพสะท้อนสำคัญของสังคมอินเดียที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีได้เป็นอย่างดี เพราะลาดักห์มีประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต และนับถือศาสนาพุทธวัชรยานมากกว่าร้อยละ 40 แตกต่างจากประชากรส่วนใหญ่ของอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู

ในการเดินทางไปลาดักห์ครั้งนี้ของเราตรงกับช่วงวันวิสาขบูชา วันสำคัญทางศาสนาพุทธซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงจะได้มีโอกาสไปสัมผัสพิธีฉลองวันวิสาขาบูชาสไตล์วัชรยาน ซึ่งแตกต่างจากเถรวาทบ้านเรา
อีกทั้งท่านยังจะได้มีโอกาสสักการะ “ศานติสถูป” (Shanti Stupa) สัญลักษณ์ของสันติภาพโลก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง 2,500 ปี พระพุทธศาสนา โดยเจดีย์องค์นี้มีทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองเลห์และภูเขาหิมาลัยอยู่เบื้องหลัง ทำให้มีความสวยงาม ซึ่งเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวและผู้ศรัทธาจำนวนมากเข้ามาบูชาอยู่เสมอ

นอกจากนี้ ท่านจะได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนวัดพุทธที่สำคัญของลาดักห์ อย่าง “วัดดิสกิต” (Diskit Gompa) หนึ่งในวัดพุทธที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในลาดักห์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาพุทธทิเบตในภูมิภาคนี้ โดยจุดเด่นของวัด คือ พระศรีอริยเมตไตรย (Maitreya Buddha) องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัด
หรือ “อารามทิคเซย์” (Thiksey Monastery) อารามเก่าแก่ของนิกายเกลุกปะ ซึ่งมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม จนทำให้ได้รับฉายาว่า “โปตาลาน้อยแห่งอินเดีย”

ไม่เพียงเท่านั้น… ท่านยังจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของ “ราชวงศ์นัมเกล” ซึ่งเคยปกครองพื้นที่แห่งนี้กว่า 400 ปี และเนื่องจากกษัตริย์ราชวงศ์นี้นับถือศาสนาพุทธ ในยุคนี้จึงมีการอุปถัมภ์ค้ำชูศาสนาโดยการสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง พร้อมยกเมือง “เลห์” เป็นเมืองหลวง ซึ่งที่นี่มีไฮไลท์สำคัญ คือ “พระราชวังเลห์” อันสวยงาม ยิ่งใหญ่ และโดดเด่น โดยเราจะสามารถชมวิวเมืองเลห์และเทือกเขาหิมาลัยได้อย่างแจ่มชัด
นอกจากนี้ ราชวงศ์นัมเกลยังได้สร้าง “พระราชวังเชย์” พระราชวังฤดูร้อน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปศากยมุนีสูง 12 เมตร ที่ทำจากทองแดงปิดทอง สร้างโดยช่างเนปาลร่วมกับช่างลาดักห์ เพราะเชื่อว่าลาดักห์เป็นพื้นที่ของแคว้นสักกะ บ้านเกิดของพระพุทธเจ้า

หากลาดักห์ไม่ได้มีเพียงศาสนาพุทธเท่านั้น เพราะยังมีผู้คนมากมายหลายศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ว่าจะเป็น “ศาสนาซิกข์” ซึ่งมีศาสนสถานสำคัญ คือ “คุรุดวารา ปาธาร์ ซาฮิบ” (Gurudwara Pathar Sahib) โบสถ์ซิกข์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุรุนานัก (Guru Nanak) ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินทางมาที่นี่ ทำให้โบสถ์ซิกข์แห่งนี้มีความสำคัญและเป็นที่เคารพยิ่งจากชาวซิกข์ในพื้นที่

หรือศาสนาเพิน (Bon) ศาสนาเก่าแก่ดั้งเดิมของชนชาติทิเบต ที่นับถือมานานตั้งแต่ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามาถึง ซึ่งเราจะได้มีโอกาสเข้าพบ “วิญญาณแพทย์” (The Oracles) นักพยากรณ์และผู้ให้การรักษาผู้ป่วยผ่านวิธีการทางจิตวิญญาณ ซึ่งผู้หญิงจะเรียกว่า ลาห์โม (Lha-mo) และผู้ชายจะเรียกว่า ลาห์ปา (Lha-pa) อนึ่งพิธีกรรมนี้เป็นการเรียกวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เข้าร่างผู้ป่วยและขับไล่วิญญาณชั่วร้ายออกไป ทำให้มันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของลาดักห์

รวมไปถึง “ศาสนาอิสลาม” ซึ่งลาดักห์มีประชากรเป็นชาวมุสลิมประมาณ 45% มากกว่าศาสนาพุทธเล็กน้อย เนื่องจากดินแดนแห่งนี้มีชาวมุสลิมจากพื้นที่ต่างๆ ได้เข้ามาอยู่อาศัยกับชาวพุทธมายาวนาน จนผู้คนในท้องถิ่นหันมานับถือศาสนาอิสลามโดยสมัครใจ
อย่างเช่น ชาวบัลติ (Balti) กลุ่มชาติพันธุ์ลูกผสมระหว่างทิเบต-ดาร์ด (อินโด-อารยันจากเอเชียกลาง) ที่แต่เดิมเคยนับถือศาสนาพุทธ ก็ได้หันมานับถือศาสนาอิสลาม แต่พวกเขาก็ยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมเอาไว้อย่างการพูดภาษาบัลติ หนึ่งในภาษาที่เสี่ยงสูญหายไปจากโลก

ชาวบัลตินั้นถือเป็นชนกลุ่มน้อยของลาดักห์ เพราะแท้จริงแล้ว พวกเขาอาศัยอยู่ในจังหวัดกิลกิต-บัลติสถาน (Gilgit-Baltistan) ทางตอนเหนือของปากีสถาน แต่เมื่อเกิดสงครามอินเดีย-ปากีสถานเมื่อปี 1971 อินเดียก็สามารถยึดครองพื้นที่บัลติสถานได้บางส่วน รวมไปถึง “หมู่บ้านเตอร์ตุค” (Turtuk) หมู่บ้านชายขอบที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ที่หมู่บ้านนี้มีมีกษัตริย์พระนามว่า “ยับโก โมฮัมหมัด ข่าน คาโช” (Yabgo Mohammad
Khan Kacho) ทายาทของราชวงศ์ยับโก (Yabko Dynasty) ซึ่งเคยปกครองอาณาจักรบัลติสถาน (Baltistan) แต่ต่อมา ความตึงเครียดระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน ทำให้ท่านและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งสองฝั่งไปมาหาสู่กันยากมากขึ้น
นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้างพระราชวังของพระองค์เองเป็น “พิพิธภัณฑ์และบ้านมรดกบัลติ” (Balti Heritage House and Museum) เพื่อจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรบัลติสถาน (Baltistan) ซึ่งปัจจุบันจะมีลูกหลานของท่าน หรือผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์นำบรรยาย และหากมีโอกาสก็จะได้พบท่าน

นอกเหนือจากจุดเด่นทางวัฒนธรรมแล้ว ลาดักห์ยังมีไฮไลท์สำคัญที่คุณไม่ควรพลาด! คือ ธรรมชาติที่สวยงามตระการตาราวสรรค์บนดิน ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลสาบปันกอง” (Pangong Lake) ทะเลสาบสีฟ้าครามแห่งเลห์ ลาดักห์ หนึ่งในทะเลสาบน้ำเค็มที่อยู่สูงที่สุดในโลก ซึ่งที่นี่งถูกล้อมรอบด้วยภูเขาสูงใหญ่ และน้ำในทะเลสาบจะสะท้อนแสงแดดและเปลี่ยนสีไปตามช่วงเวลา เหมาะอย่างยิ่งที่จะถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและความทรงจำอันงดงามเอาไว้

“จุดบรรจบของแม่น้ำสินธุและแม่น้ำซันสการ์” (Confluence of the Indus and Zanskar Rivers) หรือ แม่น้ำสองสี หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของลาดักห์ที่ไม่ควรพลาด เพราะท่านจะได้เห็นแม่น้ำสองสายไหลมา
บรรจบกัน โดยสายหนึ่งมีน้ำสีฟ้าคราม ส่วนอีกสายมีน้ำสีเขียว ใครที่ได้เห็นจะต้องประทับใจกับความสวยงาม

รวมไปถึง “ทะเลทรายฮันเดอร์” (Hunder Sand Dunes) ทะเลทรายสีขาวอมเทาที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาขนาดใหญ่หลายลูก ทำให้ที่นี่เป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับกิจกรรมขี่อูฐแบคเตรียน (Wild Bactrian Camel) อูฐสองหนอกที่มีเจ้าหน้าที่คอยพาไปลัดเลาะตามเนินทราย ท่ามกลางทัศนียภาพอันงดงาม เหมาะแก่การถ่ายรูปยามเย็น
สุดท้ายนี้ เราขอฝากทัวร์ Leh Ladakh: Faiths in the Mountain ด้วยนะครับ โดยการเดินทางครั้งนี้เป็นเส้นทางพิเศษที่ตั้งใจพาท่านไปสัมผัสดินแดนลาดักห์อย่างลึกซึ้ง
…มันคือ “ลาดักห์” ที่มีเรื่องราวมากมายที่น่าแสวงหา และจะทำให้ท่านเข้าใจที่นี่ได้ถึงแก่นแท้
อย่าพลาด! ทริปใหม่สุดพิเศษที่ได้ทั้งประวัติศาสตร์และธรรมชาติแบบนี้! เดินทางวันที่ 10-17 พฤษภาคม 2025 โดยทริปนี้เดินทางร่วมกับ “คุณพิเชฐ วังภาพร” วิทยากรนำเที่ยวคุณภาพที่จะพาท่านจะไปกับพบความรู้ที่แปลกใหม่ ในสถานที่ที่ซ่อน “ความไม่ธรรมดา” เอาไว้มากมาย
โดยสรุปแล้ว ทัวร์ “Ladakh: Faiths of the Mountain” เป็นเส้นทางที่จะพาท่านไปชมธรรมชาติอันแสนงดงามเกินกว่าจะพรรณนา อีกทั้งยังมีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเส้นทาง

รับประสบการณ์ที่แตกต่าง และสัมผัสบรรยากาศแบบใหม่ที่อาจไม่เคยลิ้มลอง หากท่านใดสนใจขอโปรแกรม สามารถติดต่อได้ทาง หมายเลข 082-894-8444, 089-927-6446 หรือแอด LINE OA ได้ที่ @thewildchronicles (พิมพ์ @ ด้านหน้า) และพิมพ์ว่า “สนใจทัวร์เลห์ ลาดักห์” ได้เลยนะครับ หรือกดปุ่ม “จองทัวร์” ได้เลยครับ
0 Comment