คำว่า “มาเกร็บ” (Maghreb) ที่มีความหมายว่า “ทิศตะวันตก” เป็นคำภาษาอาหรับที่ใช้เรียกพื้นที่ในทวีปแอฟริกาเหนือที่อยู่ทางตะวันตกของอียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ชาวอาหรับมาพิชิตในช่วงการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางของอาณาจักรอิสลามในช่วงศตวรรษที่ 7

สำหรับชนพื้นเมืองดั้งเดิมของแอฟริกาเหนือคือชาว “เบอร์เบอร์” เมื่อผู้รุกรานกลุ่มใหม่เข้ามาก็ได้รับเอาวัฒนธรรมและศาสนาใหม่เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนออกมาในสถาปัตยกรรมที่อยู่มาแต่ครั้งอดีต

แน่นอนว่าอาหรับเองก็รับเอาวัฒนธรรมหลายๆ อย่างมาจากเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง จึงกลายเป็นการส่งต่อวัฒนธรรมจากเปอร์เซียที่อยู่ทางทิศตะวันออกมายังพื้นที่มาเกร็บที่อยู่ทางตะวันตก และยังต่อไปถึงสเปนอีกด้วย

ในโพสต์นี้จึงจะขอเล่าถึงการถ่ายทอดสถาปัตยกรรมมัสยิดที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละบริบทที่น่าสนใจนะครับ

🕌 เล่าถึงวัฒนธรรมแบบเปอร์เซียที่ถือได้ว่าเป็น “วัฒนธรรมสูง” คือใครๆ ก็อยากรับไปใช้ และแน่นอนว่าภาพจำของมัสยิดที่เราเห็นในไทยก็มีที่มาจากสถาปัตยกรรมแบบเปอร์เซียนี้เอง

🕌 มัสยิดของเปอร์เซียจะโดดเด่นด้วย:
– โครงสร้างโดมหรือหัวหอม
– มีกรอบประตูทรงจั่ว ปลายแหลมแล้วมนลงมา
– มีหอสูงที่เรียกว่า “หออะซาน” หรือ “มินาเรต” (minaret) เป็นจำนวนคู่ มักเป็น 2 หรือ 4 เสา
– และยังมีการตกแต่งด้วยลักษณะที่มีเอกลักษณ์ เช่น มุก็อรนัศ (Muqarnas) คือการใช้รูปทรงสามมิติกับคันทวย (corbel) ที่ใช้ค้ำยันประกอบกันในการตกแต่งทางเข้ามัสยิด
.
🕌 ต่อมาเป็นวัฒนธรรมอิสลามแบบอาหรับที่รับแบบจากเปอร์เซียไปประยุกต์ ลักษณะของมัสยิดแบบอิสลามหรืออาหรับยุคแรกๆ จะยึดตามแปลนบ้านของศาสดามุฮัมมัด กล่าวคือ:
– มีลานหรือสนามแบบปิดทุกด้าน
– มีอาคารสวดภาวนาอยู่ด้านหนึ่ง
– และมี “อาเขต” (arcade) หรือช่องโค้งต่อกันเป็นระยะๆ อยู่ทุกด้าน

🕌 ตัวอย่างของมัสยิดแบบคล้ายๆ บ้านนบีมุฮัมมัดมีคำเรียกว่า “ไฮโปสไตล์” (hypostyle) ซึ่งไปปรากฏใน “มหามัสยิดแห่งไครวน” ในตูนิเซียซึ่งอยู่ในพื้นที่มาเกร็บด้วย

🕌 มหามัสยิดแห่งไครวนเป็นมัสยิดทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีมินาเร็ตเหลือเพียงหนึ่ง และแทนที่จะเป็นทรงเรียวสูง กลับเป็นแบบสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ด้านบนใช้จุดคบเพลิงซึ่งมีประโยชน์แก่นักเดินทางยามกลางคืนในอดีตกาล

🕌 มัสยิดแบบมาเกร็บยังมีลักษณะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ อย่างสไตล์โมร็อกโกลักษณะคือ:
– ซุ้มประตูจะมีลักษณะแบบโค้งคล้ายเกือกม้า อาจมีปลายแหลมหรือการตกแต่งลวดลายบ้าง
– มักมีขนาดสูงใหญ่ ซึ่งตกทอดมาจากยุคโบราณที่ผู้ปกครองต้องการใช้ขนาดของเมืองในการข่มขวัญศัตรูนั่นเอง
– นอกจากนี้สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือมัสยิดสไตล์โมร็อกโกจะเน้นสีเขียวและขาว (ต่างจากแบบเปอร์เซียนิยมใช้สีฟ้า)

🕌 …ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้สะท้อนถึงวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมที่มีการถ่ายทอดจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ทว่าแต่ละพื้นที่ได้มีการประยุกต์ใช้ตามความต้องการและบริบทที่แตกต่างกันนั่นเอง…

✈️ ทาง The Wild Chronicles มีความยินดีแจ้งให้ทุกท่านทราบว่าเรามีเปิดทัวร์ไปยังประเทศโมร็อกโก ประเทศในดินแดนมาเกร็บที่ยังอาจไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับชาวไทย แต่เหมาะกับนักผจญภัยที่อยากไปสัมผัสโลกกว้างทุกท่านอย่างแน่นอน

📣 ท่านที่สนใจเดินทางไปสัมผัสประเทศแห่งนี้กับ The Wild Chronicles สามารถติดต่อเข้ามาทุกช่องทางได้เลย❗️

#TWCTour #TWCMorocco